การแบ่งชั้นบรรยากาศ
สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ
ดังต่อไปนี้
1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
3.
การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยา
1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
แบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง
เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100
เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน
1.1 โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ
บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร
มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้เมฆ พายุ ลม
และลักษณะอากาศต่างๆเกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น
ๆ
1.2 สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15
- 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลกก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัวและจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วงของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น
เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
1.3 มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50
- 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน
อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง 83 องศาเซลเซียส
อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ
ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน
2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ
ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน
มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ
2.1 เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80
- 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก
ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส
สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน
ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว
2.2 เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ
450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกายต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ
ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
2.3 แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย
แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
2. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ชั้น
1. โทรโพสเฟียร์(Troposphere)
สูงจากพื้นดินสูงขึ้นไป 10 กิโลเมตร มีลักษณะดังนี้
- มีอากาศประมาณร้อยละ 80 ของอากาศทั้งหมด
- อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 6.5 ๐C
ต่อ 1 กิโลเมตร
- มีความแปรปรวนมาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ไอน้ำ เมฆ ฝน พายุต่างๆ
ฟ้าแลบฟ้าร้องและฟ้าผ่า
2. สตราโทสเฟียร์(Mesosphere) อยู่สูงจากพื้นดิน 10-50 กิโลเมตร
มีอากาศเบาบาง มีเมฆน้อยมาก เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำน้อยอากาศไม่แปรปรวน
เครื่องบินบินอยู่ในชั้นนี้ มีแก๊สโอโซนมาก ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 25
กิโลเมตร ช่วยดูดกลืนรังสีอัตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วน
3.
มีโซสเฟียร์(Mesosphere) สูงจากพื้นดินประมาณ 50-80 กิโลเมตร
อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นสุดเขตของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า มีโซพอส
ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ -140 ๐C เป็นบรรยากาศชั้นที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก
4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermosphere) อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-500 กิโลเมตร
ดาวตกและอุกาบาตร จะเริ่มลุกไหม้ในบรรยากาศชั้นนี้
อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80-100 km จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ
ลดลง โดยทั่วไป อุณหภูมิ จะอยู่ในช่วง 227-1,727 ๐C
บรรยากาศชั้นนี้มีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆ จางมาก แต่แก๊สต่างๆ
ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่ประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางความถี่ได้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
ไอโอโนสเฟียร์(Ionosphere)
5.
เอกโซสเฟียร์(Exosphere) อยู่ในระดับความสูงจากผิวโลก 500 กิโลเมตรขึ้นไป ไม่มีแรงดึงดูดของโลก
ดาวตกและอุกบาตรจะไม่ลุกไหม้ในชั้นนี้ เนื่องจากมีแก๊สเบาบางมาก
จนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศ
แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
3. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์แบ่งได้เป็น
5 ชั้น
ดังนี้
1. บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด
อยู่ในช่วงจากบริเวณพื้นผิวโลกจนถึงระดับความสูงประมาณ 2
กิโลเมตร การไหลเวียนของมวลอากาศในบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจาก
ความฝืดและจากลักษณะของพื้นผิวโลก
2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและชั้นบน
อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นนี้จะลดลง อย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
ในชั้นนี้อิทธิพลจากความฝืดจะมีผลต่อการไหลเวียนของมวลอากาศน้อยลงมาก
3. โทรโพพอส
เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์
บรรยากาศในชั้นนี้เป็นเขตที่แบ่งชั้นที่มีไอน้ำและไม่มีไอน้ำ
4. สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเหมือนกับสตราโตเฟียร์
ที่แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
เรื่องน่ารู้
1. เขตแดนระหว่างโทรโพสเฟียร์กับสตราโตสเฟียร์
เรียกว่า โทรโพพอส
2. เขตแดนระหว่างสตราโตสเฟียร์กับมีโซสเฟียร์
เรียกว่า สตราโตพอส
3. เขตแดนระหว่างมีโซสเฟียร์กับเทอร์โมสเฟียร์
เรียกว่า มีโซพอส
4. แสงจากดวงอาทิตย์
ที่ทำให้เรามองเห็น เรียกว่า แสงขาว
การกระจายแสงขาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น