ความสำคัญของบรรยากาศ

1.ช่วยให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตส่วนผสมของแก๊สต่างๆ ในอากาศ ช่วยให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตทุกชนิดหายใจเอาแก๊สออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลังงาน และหายใจออกให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งกระบวนการหายใจนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา และพืชจะนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วให้แก๊สออกซิเจนแก่สิงมีชีวิตเพื่อนำไปใช้ในการหายใจ


บรรยากาศจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์

2. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตโดยในเวลากลางวันบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกและไอน้ำจะดูดกลืนรังสียูวี รังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นรังสีที่ทำให้เกิดความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วน จึงทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนในเวลากลางคืนบรรยากาศจะช่วยให้โลกคายความร้อนหรือเย็นตัวลงอย่างช้าๆ เช่นกัน ซึ่งถ้าขาดบรรยากาศแล้ว จะทำให้ในเวลากลางวันอุณหภูมิบนพื้นโลกจะสูงถึงประมาณ 110 Cและในเวลากลางคืน อุณหภูมิบนพื้นโลกต่างจนถึง -180๐C

3.ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีไม่ให้ผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากเกินไปรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดี โดยคอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังเมื่อได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดี ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้รังสีอัลตราไวโอเลตยังช่วยฆ่าแบคทีเรียและเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำลายเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และทำให้นัยต์ตาเกิดต้อกระจกได้ ส่วนใหญ่รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมาถึงพื้นโลก ได้แก่ แสงขาว ที่ช่วยให้การมองเห็น รังสีความร้อนและคลื่นวิทยุ 


 4. ช่วยป้องกันภัยอันตรายจำกอนุภาคต่างๆ ที่มาจากนอกโลก อุกกาบาต ดาวตก ซึ่งมีขนาดต่างๆ เมื่อเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลกเกิดการเสียดสีกับอากาศที่ห่อหุ้มโลกเกิดการเสียดสีกับอากาศที่ห่อหุ้มโลก เริ่มจากชั้นเทอร์โมสเฟียร์ เกิดการลุกไหม้จนหมดไปหรือมีขนาดเล็กลงก่อนตกลงสู่พื้นผิวโลกมิฉะนั้นแล้วมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะได้รับอันตรายจากสิ่งดังกล่าวได้ 

5. ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ อากาศใกล้ผิวโลกชั้นโทรโพสเฟียร์ มีไอน้ำมากทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางลม ฟ้า อากาศ เช่น ลมพายุ เมฆ ฝน ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการบินอีกด้วย เนื่องจากนักบินจะต้องทราบถึงสภาพของอากาศตลอดเส้นทางการบิน
จึงจะสามารถบังคับเครื่องบินให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย





2 ความคิดเห็น: